เรื่องดีคำโดน

คำนินทา

เราเสริมสร้างความรักได้อย่างง่ายๆ ด้วย “คำพูด” แต่เราก็ทำลายความรักได้อย่างง่ายๆ ด้วยคำพูดเช่นกัน ซึ่งคำพูดที่ต้องหลีกเลี่ยงนี้คือ “คำนินทา”

เพราะขาดฟืน ไฟก็ดับ และที่ไหนไม่มีคนซุบซิบนินทา การทะเลาะวิวาทก็หยุดไป
สุภาษิต 26:20 –

ถ้าอยากดับไฟ ก็อย่าเติมฟืน… ถ้าเลิกนินทา การทะเลาะวิวาทก็หยุดไป

คำนินทาสร้างความขมขื่นใจให้แก่ผู้ถูกนินทา มันอาจเป็นผลจากความอิจฉาหรือความไม่พอใจ และนำไปสู่การตอบโต้แก้เผ็ด ซึ่งไม่เพียงทำลายคนที่ถูกนินทา คำนินทายังทำลายภาพลักษณ์ของคนที่พูดนินทาด้วย

มีงานวิจัยหนึ่ง* โดย จอห์น เจ. สโควรอนสกี้ (John J. Skowronski) และเพื่อนร่วมทีมของเขา ระบุว่า “ภาพที่เราใช้อธิบายคนอื่น ส่งผลต่อภาพที่คนอื่นใช้มองเรา”

คนที่ชอบนินทา พูดถึงผู้อื่นในทางไม่ดี มักถูกมองเป็นคนไม่ดีไปด้วย ในทางตรงกันข้าม คนที่มักยกย่องคนอื่น ก็จะกลับได้รับความเคารพด้วยแม้ว่าคุณไม่ได้ทำสิ่งที่ไม่ดีเหมือนคนที่คุณนินทา แต่ผู้ฟังมักเชื่อมโยงสิ่งไม่ดีมาถึงตัวคุณด้วย แม้ว่านั่นอาจดูไม่เป็นความเชื่อมโยงทางตรรกะนัก

เมื่อเราได้ยินคนพูดบวก (หรือลบ) เกี่ยวกับอีกคนหนึ่ง เรามักประกอบภาพบุคคลที่พูดนั้นด้วยภาพแบบเดียวกัน ซึ่งสามารถสรุปสั้นๆ ได้ว่า วิธีที่คุณพูดถึงคนอื่น จะอธิบายถึงวิธีที่ผู้อื่นพูดถึงคุณ” คนขี้นินทาจึงทำลายทั้งผู้อื่นและตนเอง แต่คนพูดดีถึงคนอื่น ก็เสริมสร้างทั้งผู้อื่นและตนเอง

เราจะสบายใจเมื่ออยู่ร่วมกันกับคนที่ไม่ขี้นินทา ดังนั้นความจริงใจ ตรงไปตรงมา ไม่พูดลบหรือร้ายกับใคร จึงเป็นวิธีวางตัวที่ฉลาดมากๆ และเอื้อต่อการสร้างความไว้วางใจ

*https://www.psychologytoday.com/intl/blog/why-bad-looks-good/201805/the-way-you-describe-others-is-the-way-people-see-you

 

เรียบเรียง:  คำเทศนา ศจ.ทนนท์ ชาญชิตโสภณ
ภาพ:  Ben White on Unsplash
ออกแบบ:  Zippy

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง