บทความ

อิสราเอล ปาเลสไตน์ ใครคือเจ้าของพื้นที่ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์

ปี ค.ศ. 1948 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เพิ่งยุติ ประเทศอังกฤษหนุนชาวอิสราเอลผ่านโต๊ะประชุม UN ให้ตั้งประเทศอิสราเอลจนสำเร็จในดินแดนปาเลสไตน์ แต่ก่อนหน้านั้นชาวยิวกค่อยๆ อพยพตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ในฐานะผู้มาเยือนมาระยะหนึ่งแล้ว

10 ชาติอาหรับไม่ยอมรับมตินี้จึงรวมตัวกันเพื่อทำสงครามกับอิสราเอล ชาติอาหรับให้คำมั่นกับชาวปาเลสไตน์เจ้าของประเทศในเวลานั้นให้ออกไปจากประเทศเป็นการชั่วคราวก่อน โดยให้สัญญาว่าขอเวลาไม่นานหลังจัดการกับอิสราเอลแล้ว พวกเขาค่อยกลับมายังบ้านของตนเหมือนเดิม… จากนั้นชาวปาเลสไตน์ 4 ล้านคนก็ล็อกบ้าน ถือกุญแจบ้าน อพยพไปยังทางเหนือยังประเทศเลบานอน ทางตะวันออกสู่ประเทศซีเรีย และทางตะวันตกยังอียิปต์

The Palestinian right of return กุญแจที่เป็นเพียงสัญลักษณ์เพราะไม่มีบ้านจะให้ไขแล้ว

เมื่อประกาศอพยพเรียบร้อย กองทัพอาหรับ 10 ชาติก็บุกขยี้อิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์ แต่หารู้ไม่ว่านายพลโมเช่ ดายัน (Moshe Dayan นายพลตาเดียว) สามารถยันกองทัพทั้งหมดและเอาชนะได้ใน 6 วัน ทหารอิสราเอลตายไป 1,000 แต่ทหารอาหรับตายไปถึง 20,000 นาย

Moshe Dayan (โมเช่ ดายัน) นายพลตาเดียวผู้นำกองทัพอิสราเอลจนมีชัยชนะในสงคราม 6 วัน (Six-day War, 1967)

“ปาเลสไตน์กลับบ้านไม่ได้”

ต่อมาไม่นานเลบานอน ซีเรีย และอียิปต์ ดูแลผู้อพยพชาวปาเลสไตน์ไม่ไหวจึงตัดสินใจผลักดันปาเลสไตน์ออกนอกประเทศ .. แล้วจะให้ไปไหนดีหล่ะครับ? ก็บ่ายหน้ากลับบ้านไง


พื้นที่ของปาเลสไตน์ (สีเขียว) ซึ่งแทบไม่เหลือแล้วในปัจจุบัน

จากนั้นเป็นต้นมาปาเลสไตน์จึงใช้กุญแจเป็นเหมือนสัญลักษณ์เจ้าของดินแดน แม้เมื่อกลับไปยังแผ่นดินปาเลสไตน์จะถูกกระทำเหมือนผู้อพยพในบ้านของตัวเอง ถูกแยกไว้ที่ฉนวนกาซา และเขตเวสต์แบงค์จนถึงทุกวันนี้

Israeli West-Bank barrier Ramallah
รั้วกั้นในเขต West Bank กันปาเลสไตน์ไม่ให้เข้ามายังอิสราเอล

พระคัมภีร์เคยอธิบายเหตุผลที่พระเจ้าอนุญาตให้อิสราเอลยึดดินแดนพันธสัญญาในสมัยโมเสสว่า…

เมื่อพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทรงขับไล่เขาออกไปต่อหน้าท่านแล้ว ท่านอย่านึกในใจว่า ‘เพราะความชอบธรรมของข้า พระยาห์เวห์จึงทรงนำข้าให้มายึดครองแผ่นดินนี้’ แต่เพราะความชั่วของประชาชาติเหล่านี้ พระยาห์เวห์จึงทรงขับไล่พวกเขาออกไปต่อหน้าท่าน ที่ท่านกำลังจะเข้ายึดครองแผ่นดินของพวกเขานั้น

ไม่ใช่เพราะความชอบธรรมของท่าน หรือความซื่อตรงในใจของท่าน แต่เพราะความชั่วช้าของประชาชาติเหล่านี้ พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านจึงทรงขับไล่พวกเขาออกเสียต่อหน้าท่าน และเพื่อพระองค์จะทรงให้เป็นจริงตามพระวจนะซึ่งพระยาห์เวห์ทรงปฏิญาณต่อบรรพบุรุษของท่าน คือต่ออับราฮัม ต่ออิสอัค และต่อยาโคบ

เพราะฉะนั้นท่านพึงทราบเถิดว่า ที่พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านประทานแผ่นดินดีนี้ให้ท่านยึดครองนั้น ไม่ใช่เพราะความชอบธรรมของท่าน เพราะว่าท่านเป็นชนชาติที่หัวแข็ง จงจำไว้และอย่าลืมว่า ท่านได้ทำให้พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทรงพระพิโรธที่ในถิ่นทุรกันดาร ตั้งแต่วันที่ท่านออกจากแผ่นดินอียิปต์ จนกระทั่งพวกท่านมาถึงสถานที่นี้ พวกท่านมักกบฏต่อพระยาห์เวห์อยู่เรื่อยมา

– เฉลยธรรมบัญญัติ 9:4–7 –

เหตุผลที่พระเจ้าให้อิสราเอลบุกยึดดินแดนคานาอันเพราะ 1) เพื่อเป็นไปตามคำสัญญาที่พระเจ้าเคยมอบไว้แก่อับราฮัมผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกไว้ 2) เพื่อเป็นการพิพากษาความผิดบาปของประชาชนในแถบนี้ซึ่งพระเจ้าเคยเตือนไว้แล้ว (หมายถึง ณ เวลานั้น)

และที่สำคัญไม่ใช่เพราะอิสราเอลดี ชอบธรรม หรือคู่ควรต่อการเป็นผู้ปกครองดินแดนนี้แต่อย่างใด เพราะใครทำบาปชั่วย่อมนำการพิพากษาจากพระเจ้าลงมา ไม่เว้นแม้กระทั่งอิสราเอลในยุคที่ถูกจับไปเป็นเชลยในบาบิโลน

“เมื่อเจ้าบอกถ้อยคำเหล่านี้แก่ชนชาตินี้ และเขาทั้งหลายพูดกับเจ้าว่า ‘ทำไมพระยาห์เวห์จึงทรงประกาศโทษใหญ่ยิ่งทั้งสิ้นนี้ให้ตกแก่เรา? ความผิดบาปของเราคืออะไร? เราได้ทำบาปอะไรต่อพระยาห์เวห์พระเจ้าของเราเล่า?’ แล้วเจ้าจงกล่าวแก่เขาทั้งหลายว่า ‘พระยาห์เวห์ตรัสว่า เพราะบรรพบุรุษของเจ้าได้ละทิ้งเรา และได้ไปติดตามพระอื่นๆ และได้ปรนนิบัติ และนมัสการพระเหล่านั้น และได้ละทิ้งเรา และไม่ได้รักษาธรรมบัญญัติของเรา และเพราะพวกเจ้าได้ทำชั่วเสียยิ่งกว่าบรรพบุรุษของเจ้า เพราะดูสิ เจ้าทุกคนได้ติดตามเจตนาชั่วร้ายดื้อดึงของตนเอง ปฏิเสธไม่ยอมฟังเรา เพราะฉะนั้น เราจะเหวี่ยงเจ้าออกเสียจากแผ่นดินนี้เข้าไปในแผ่นดินซึ่งเจ้าหรือบรรพบุรุษของเจ้าไม่รู้จักและที่นั่นเจ้าจะปรนนิบัติพระอื่นๆ ทั้งกลางวันและกลางคืนเพราะเราจะไม่สำแดงความกรุณาแก่เจ้าเลย’ – เยเรมีย์ 16:10–13 –

ปัจจุบันกุญแจได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการเรียกร้องเสรีภาพของชาวปาเลสไตน์จากการถูกกดขี่ข่มเหงจากอิสราเอล ซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะลดหย่อนอะไรได้ทางการเมือง แต่คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์เริ่มส่งสัญญาณอยากให้รัฐบาลอิสราเอลออกกฏหมายเพื่อแก้ปัญหาทางใดทางหนึ่ง เช่น แยกเป็น 2 ประเทศ (two-state solution) หรือ รวมประเทศเข้าไปด้วยกันเลย (one-state solution) อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังคงไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้

Symbolic-key-of-return-at-the-entrance-to-the-permanent-palestinian-refugee-camp-aida-in-bethlehem hl 9cntll thumbnail-full01ประตูกุญแจ สัญลักษณ์แห่งการปลดปล่อยปาเลสไตน์กลับคืนสู่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์

เจ้าของดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ณ เวลานี้คือ อิสราเอล แต่มิติที่เราควรมองให้ลึกลงไปคือ คุณค่าความเป็นคนของชาวปาเลสไตน์ สมควรเมตตาต่อกันและหาทางออกให้ดีที่สุด สำหรับเราที่เป็นคริสเตียน เราต้องคิดถึงใจเขาใจเรา อย่ามองเรื่องนี้เพียงหลักฐานในพระคัมภีร์ ซึ่งนั่นเกิดขึ้นมานานหลายพันปีมาแล้ว อย่ามองศัตรูของอิสราเอลเป็นศัตรูของเราในปัจจุบัน ให้เราเห็นหัวใจของชาวปาเลสไตน์ที่เป็นคนต่างชาติซึ่งไม่ต่างกับเราเหมือนกัน แต่เรายังได้รับพระคุณพระเจ้าผ่านทางพระเยซูคริสต์จวบจนถึงทุกวันนี้

 

บทความ:  กนก ลีฬหเกรียงไกร
ภาพ:  Sander Crombach on Unsplash
ออกแบบ:  Nan Tharinee

อ้างอิง

  • Ai Weiwei. Human Flow. 2017.ฃ
  • McGeown, Kate and Asser, Martin. “Right of return: Palestinian dream?” BBC News. 18 February 2003.
  • Tessler, Mark. A History of the Israeli–Palestinian Conflict. Indiana University Press, 1994.
  • Zack Beauchamp. What are the “two-state solution” and the “one-state solution”?. Vox.com, 2018.

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง