คริสเตียนไทยบางคนอาจเคยมีประสบการณ์คนมาเคาะหน้าบ้านแล้วเล่าเรื่องราวพระเจ้าให้ฟัง ซึ่งคำสอนบางอย่างก็ดูเหมือน คำสอนบางอย่างก็ดูต่างกัน โดยคนกลุ่มนี้มักจะมีนิตยสารเล่มบางๆ ที่เรียกว่า หอสังเกตุการณ์ (The Watchtower) กับ ตื่นเถิด! (The Awake!) มาแจกให้ฟรีด้วย แต่น่าสงสัยว่า ทำไมคริสเตียนมองว่ากลุ่มนี้สอนไม่ตรงตามหลักพระคัมภีร์ พวกเขาเชื่ออะไร?
คำตอบก็คือ พวกเขาไม่เชื่อว่า “พระเยซูเป็นพระเจ้า” โดยในปี 1879 Charles T. Russell ผู้ก่อตั้งกลุ่มนักเรียนพระคัมภีร์ (Bible Student Movement) ซึ่งภายหลังถูกพัฒนาเป็นกลุ่มพยานพระยะโฮวา (Jehovah’s Witnesses) ได้สอนว่า
ก่อนสร้างสรรพสิ่ง พระเจ้าได้สร้างพระเยซูเป็นสิ่งแรก และพระเยซูที่มีพลังของพระเจ้า ก็สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ดังนั้นพระเยซูจึงไม่ใช่พระเจ้า (God) แต่เป็นสิ่งถูกสร้างที่มีอำนาจและเป็นตัวแทนของพระเจ้า (a god) หรือ ต่ำกว่าพระเจ้านิดนึง (a lesser kind of God) นั่นเอง
การตอบโต้กับพยานพระยะโฮวา
เนื่องจากคนกลุ่มนี้ถูกฝึกมาอย่างดีในการชักชวนและติดตามผล พวกเขามักจะดูดี พูดจาไพเราะ จึงค่อนข้างยากในการปฏิเสธ ในบทความนี้ผมจะแนะนำวิธีหนึ่งในการตอบโต้พวกเขา โดยอาวุธที่ใช้ก็จะเป็นพระคัมภีร์นั่นเอง เพราะว่าพวกเขาก็เชื่อพระคัมภีร์เล่มเดียวกัน ข้อพระคัมภีร์ที่เราจะใช้ก็คือ ยอห์น 1:1
ยอห์น 1:1
ในปฐมกาลพระวาทะทรงดำรงอยู่ และพระวาทะทรงอยู่กับพระเจ้า และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า (THSV11)
In the beginning was the Word, and the Word was with God, and the Word was God. (KJV)
1 In the beginning was the Word, and the Word was with God, and the Word was a god. (NWT)
THSV11 คือ เวอร์ชั่นภาษาไทยที่นิยมใช้กันทั่วไป
KJV คือ King James Version
NWT คือ New World Translation ซึ่งเป็นฉบับที่พยานพระยะโฮวาใช้
ก่อนอื่นควรเข้าใจก่อนว่า ทั้งคริสเตียนและพยานพระยะโฮวา เชื่อตรงกันว่า พระวาทะ (Word) คือ พระเยซู (Jesus) แต่เมื่อเปรียบเทียบ ΚJV กับ NWT จะพบ จุดที่แตกต่างกัน
โดยคริสเตียนที่เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า จึงแปลประโยคสุดท้ายว่า the Word was God แต่พยานพระยะโฮวาไม่เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า จึงแปลประโยคสุดท้ายเป็น the Word was a god เมื่อมีการแปลที่แตกต่างกัน กรรมการตัดสินก็ย่อมเป็นภาษาดั้งเดิม เรามาดูกันใครแปลผิด ใครแปลถูก
ไวยกรณ์ภาษากรีกเบื้องต้น
คำนามและหน้าที่
ในภาษาต่างๆ คำนามแม้ว่าจะมีความหมายเดียว แต่จะทำหน้าที่ต่างๆ กันตามแต่รูปประโยค เช่น เป็นประธาน เป็นกรรมตรง กรรมรอง หรือ เป็นส่วนเติมเต็ม
สำหรับภาษาไทย คำนามและคำสรรพนามเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนรูปตามหน้าที่ของคำ กล่าวคือ คำว่า ฉัน, เธอ, พระวาทะ หรือ พระเจ้า จะเขียนเหมือนกันไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนไหนของประโยค ดังนั้นหากมีการสลับตำแหน่งคำ ความหมายของประโยคก็จะเปลี่ยน เช่น “ฉันรักเธอ” เป็นคนละความหมายกับ “เธอรักฉัน”
ในภาษาอังกฤษ คำนามก็จะไม่เปลี่ยนรูปเช่นกัน ดังนั้นหากสลับตำแหน่งคำ ความหมายจึงเปลี่ยน เช่น “A loves B” จะแตกต่างจาก “B loves A” แต่สำหรับคำสรรพนามจะมีการเปลี่ยนรูป โดยที่ Ι กับ she จะเป็นประธาน แต่เมื่อเปลี่ยนหน้าที่เป็นกรรม จะถูกเปลี่ยนรูปเป็น me กับ her ตามลำดับ
ดังนั้นเอาเข้าจริงๆ สำหรับคำสรรพนาม ผู้เขียนสามารถสลับที่ของคำจึงทำได้ โดยที่ความหมายไม่เปลี่ยน กล่าวคือ I love her, I her love, love her I, love I her, love her I หรือ love I her จึงมีความหมายเดียวกัน เพราะเรารู้ว่า Ι จะทำหน้าที่เป็นประธาน ส่วน her จะทำหน้าที่เป็นกรรมตรงนั่นเอง แม้ว่าความหมายจะเหมือนกัน แต่ไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษ ก็ไม่อนุญาตให้เขียนสลับที่กันแบบนั้น
แต่ในภาษากรีก คำนามและคำสรรพนามทั้งหมดจะเปลี่ยนรูปตามหน้าที่ โดยคำนามจะมีหน้าที่ 4 อย่าง คือ ประธานและส่วนเติมเต็ม (Nominative) แสดงความเป็นเจ้าของ (Genitive) กรรมรอง (Dative) และ กรรมตรง (Accusative) ไม่เพียงแต่เปลี่ยนรูปตามหน้าที่เท่านั้น แต่คำนามคำสรรพนามเหล่านี้จะเปลี่ยนรูปตามเพศ (ชาย หญิง และไม่มีเพศ) และตามจำนวน (เอกพจน์ และ พหูพจน์) อีกด้วย เนื่องจากการที่คำนามและสรรพนามเปลี่ยนรูปได้ ดังนั้นไวยกรณ์ของภาษากรีกจึงอนุญาตให้ผู้เขียนภาษากรีกสามารถสลับตำแหน่งได้อย่างอิสระ
คำนำหน้านาม (Article)
ในภาษาไทยไม่มีสิ่งที่เป็น article นำหน้าคำนาม (ดังนั้นพยานพระยะโฮวาจึงสามารถใช้พระคัมภีร์เล่มเดียวกับคริสเตียนได้)
แต่ในภาษาอังกฤษมีการใช้คำนำหน้านาม โดยใช้ the (the definite article) เพื่อบอกว่าเป็นคำนามที่เจาะจง และใช้ a,an (the indefinite article) กับคำนามที่ไม่เจาะจง
ส่วนในภาษากรีก article ทำหน้าที่ต่างจากภาษาอังกฤษ โดยที่ article จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าคำนามนี้ทำหน้าที่อะไรในประโยค เช่นเป็นประธาน หรือ เป็นกรรม แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ article ในภาษากรีกมีความซับซ้อนมาก หากไม่เข้าใจความยืดหยุ่นของการใช้ article ก็จะนำไปสู่การแปลที่ผิดได้
*ท่านใดสนใจแบบลึกซึ้งเชิญไปศึกษางานโดยละเอียดได้ที่ Doctrine of the Greek Article Applied to The Criticism and Illustration of the New Testament เขียนโดย Thomas Fanshaw Middleton
พระธรรมยอห์น 1:1
คำศัพท์
Ἐν แปลว่า in เป็น preposition ที่ต้องตามด้วยคำนามที่เป็นกรรมรอง|
ἀρχῇ แปลว่า the beginning ที่อยู่ในรูป กรรมรอง เอกพจน์ เพศหญิง (Dative Singular Feminine)
ἧν แปลว่า was
ὁ เป็น article ที่ระบุว่าคำนามที่ตามมาจะเป็น ประธาน เอกพจน์ เพศชาย (Nominative Singular Masculine)
λόγος แปลว่า word ที่อยู่ในรูป ประธาน เอกพจน์ เพศชาย เพื่อสอดคล้องกับ ὁ
καὶ แปลว่า and เป็น conjunction
πρὸς แปลว่า with เป็น preposition ที่ต้องตามด้วยคำนามที่เป็นกรรมตรง
τὸν เป็น article ที่ระบุว่าคำนามที่ตามมาจะเป็น กรรมตรง เอกพจน์ เพศชาย (Accusative Singular Masculine)
θεόν แปลว่า God ที่มีรูปแบบเป็น กรรมตรง เอกพจน์ เพศชาย เพื่อสอดคล้องกับ τὸν
θεός แปลว่า God ที่มีรูปแบบเป็น ประธาน เอกพจน์ เพศชาย (Nominative Singular Masculine)
พระธรรมข้อนี้มีอยู่ 3 ประโยค คือ และ
และ
เราจะมาพิจารณาเฉพาะประโยคสุดท้ายกัน
θεός แปลว่า God ที่มีรูปแบบเป็น ประธานหรือส่วนเติมเต็ม เอกพจน์ เพศชาย (Nominative Singular Masculine)
ὁ λόγος แปลว่า word ที่มีรูปแบบเป็น ประธาน เอกพจน์ เพศชาย (Nominative Singular Masculine) เช่นกัน
แต่เนื่องจากคำว่า λόγος มี article ὁ จึงทำหน้าที่เป็นประธาน ส่วน θεός ที่ไม่มี article จึงทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม ดังนั้นการที่คริสเตียนแปลว่า the Word was God และ พยานพระยะโฮวาที่แปลว่า the Word was a god จึงถูกไวยกรณ์ทั้งคู่ แม้ว่าความหมายจะต่างกันมาก
การตอบโต้การแปลในพระธรรมยอห์น 1:1
แม้ว่าการแปลของพยานพระยะโฮวาจะไม่ผิดในทางไวยกรณ์ แต่คริสเตียนสามารถตอบโต้ได้ 3 จุดใหญ่ๆ คือ
1. ขัดแย้งกับพระคำตอนอื่น
เช่นใน ยอห์น 20:28 โธมัสตอบพระเยซูว่า โดยคำว่า θεός มี article นำหน้า ซึ่งแปลว่า the Lord of me and the God of me ซึ่งหากพระเยซูเป็น a god จริง ก็ย่อมแก้ตัวว่า โธมัสเราเป็นแค่ a god นะ ไม่ใช่ the God
2. ผู้เขียนเป็นชาวยิว
เนื่องจากยอห์นเป็นชาวยิว ซึ่งชาวยิวเป็น Monotheism ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อว่า the Word was a god ที่เป็น Polytheism
3. ขัดแย้งในการแปลของตัวเอง
คำว่า θεός ปรากฎในพระคัมภีร์ทั้งสิ้น 1343 ครั้ง โดยมีอยู่ 282 ครั้งที่ไม่มี article ดังนั้นเพื่อความคงเส้นคงวา พยานพระยะโฮวาต้องแปลคำเหล่านี้เป็น a god ทั้งหมด แต่เราพบว่าในฉบับของ NWT ใช้คำว่า a god เพียง 17 ครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า θεός ในข้อที่ใกล้เคียงเช่น ยอห์น 1:2, 6 , 12 ,13 กลับถูกแปลว่าเป็น God (ไม่ใช่ a god)
สรุปง่าย คือ หากครั้งหน้ามีพยานพระยะโฮวามาที่บ้าน เราถามไปอย่างสุภาพว่า “ทำไมคำว่า θεός จึงถูกแปลว่า a god ใน ยอห์น 1:1 แต่ถูกแปลว่า God ใน ยอห์น 1:2, 6 , 12 ,13 ทั้ง ๆ ที่มีรูปแบบไวยกรณ์เหมือนกัน” ผมมั่นใจว่าพวกเขาคงติดธุระและก็ไม่กลับมาอีกเลย
บทความ: ดร.อาณัติ เป้าทอง
ออกแบบภาพ: Mantana
Um Thanasit
Um Thanasit