บทความ

Object vs Subject

Image by Nikolay Georgiev from Pixabay 

ณ ห้องเรียนแห่งหนึ่ง ครูประจำชั้น ถามนักเรียนทั้งห้องว่า
(1) ห้องเรียนมีเก้าอี้กี่ตัว? และ
(2) ห้องเรียนสะอาดไหม?

เราจะพบว่า คำตอบของนักเรียนจะเหมือนกันในคำถามแรก และคำตอบจะแตกต่างกันในคำถามที่สอง

ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า คำถามแรกเป็นการถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของห้องเรียน แต่คำถามที่สองถามเกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่อห้องเรียน

ความหมาย

ในระบบความคิดของปรัชญาสมัยใหม่
คำว่า object จะหมายถึง ”สิ่งหรือประเด็น” ที่เรากำลังพิจารณาอยู่
ส่วนคำว่า subject หมายถึง “บุคคล” ที่กำลังพิจารณาสิ่งนั้น

ในกรณีข้างต้นห้องเรียนคือ object
และครูประจำชั้นกับนักเรียนทั้งห้องจึงเป็น subject

Objective question หมายถึง คำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของ object เช่น ห้องเรียนมีเก้าอี้กี่ตัว?
Object truth หมายถึง ข้อเท็จจริงของ object เช่น ห้องเรียนมีเก้าอี้ 50 ตัว

Subjective question หมายถึง คำถามเกี่ยวกับความรู้สึกของ subject ที่มีต่อ object นั้น เช่น ห้องเรียนสะอาดไหม?
Subject truth หมายถึง ความรู้สึกของ subject ที่มีต่อ object นั้น เช่น ห้องเรียนสกปรกจัง

ข้อชวนคิด

1. ข้อมูล (Knowledge)

อาจจะมีนักเรียนบางคนตอบว่า ห้องเรียนมีเก้าอี้ 49 ตัว เพราะว่า นับผิด หรือ เดาคำตอบเพราะขี้เกียจนับ ซึ่งข้อมูลที่ไม่เท่ากัน จะทำให้คำตอบของ objective question แตกต่างกันได้

ในการเป็นพยาน คริสเตียนควรถามตัวเองว่า ผู้ฟังมีข้อมูลที่ผิด หรือผู้ฟังไม่สนใจ
หากผู้ฟังมีข้อมูลผิด บทสนทนาจึงควรเน้นไปทางการให้ข้อมูล เหตุผล
หากผู้ฟังไม่สนใจ บทสนทนาจึงควรเน้นไปทางการเล่าคำพยานและประสบการณ์ส่วนตัว

2. มาตรฐาน (Standard)

อาจมีนักเรียนบางคนตอบว่า ห้องเรียนมีเก้าอี้ 49 ตัว เพราะว่า เก้าอี้ตัวหนึ่งที่มีเพียง 3 ขา

เราจึงเห็นว่า มาตรฐานที่แตกต่างกัน ไม่เพียงทำให้คำตอบของ objective question แตกต่างกัน แต่ได้เปลี่ยน objective question กลายเป็น subjective question

3. การโต้เถียง

สำหรับ objective question สามารถทำให้เกิดการโต้เถียงขึ้นได้ เพราะว่า ทั้งสองฝ่ายมี ข้อมูล (knowledge) ไม่เท่ากัน ดังนั้นการโต้เถียงที่ดีจึงเป็นการแลกเปลี่ยน “ข้อมูล” ให้กันและกัน

สำหรับ subjective question การโต้เถียงสามารถเกิดขึ้นได้ เพราะว่า ทั้งสองฝ่ายมี มาตรฐาน (standard) ไม่เท่ากัน ดังนั้นการโต้เถียงที่ดีควรเป็นการชี้แจง standard ของตัวเอง และเคารพ standard ของอีกฝ่าย

4. ลักษณะบุคคลในวงสนทนา

หากบุคคลในวงสนทนามีความคล้ายกันในด้าน knowledge และ standard คำตอบของ objective และ subjective ก็ย่อมคล้ายคลึงกัน  ซึ่งทำให้บทสนทนาราบรื่น อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้คนในวงสนทนามีความมั่นใจในคำตอบของตัวเองมากขึ้น

แต่ในทางตรงกันข้าม หากบุคคลในวงสนทนามีความหลากหลาย ในด้าน knowledge และ standard บทสนทนาก็ย่อมเกิดการวิพากษ์ เกิดการตั้งคำถาม หรือ อาจจะนำไปสู่การทะเลาะวิวาทก็ได้

5. ในการเป็นพยานข่าวประเสริฐ

สิ่งที่คริสเตียนควรทำ คือ
(1) เตรียมตัวด้าน object เช่น ข้อมูล หลักฐาน และ เหตุผลที่เกี่ยวกับความเชื่อคริสเตียน และ
(2) เตรียมตัวด้าน subject เช่น คำพยานชีวิต ประสบการณ์กับพระเจ้า ทั้งของตัวเองและของคนดังคนอื่นๆ

คำถามชวนคิด

พระเจ้ามีจริงไหม?
พระคัมภีร์ไม่มีข้อผิดพลาดเลยรึ?
พระเยซูฟื้นจากความตายจริงไหม?

คำถามเหล่านี้ เป็น objective question หรือ subjective question ขอเชิญอภิปราย

 

บทความ:  ดร.อาณัติ เป้าทอง
ภาพ:  John Hain on Pixabay.com
ออกแบบ:  Zippy

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง