เชื่อไหมครับว่า หากคำว่า “รัก” ของสามีกับภรรยามีความหมายแตกต่างกัน อาจจะทำให้การที่สามีและภรรยาพูด “ฉันรักเธอ” ต่อกันและกัน อาจจะสร้างปัญหาให้กับความสัมพันธ์ได้ เพราะว่า ความคาดหวังที่มีต่อคำนั้นแตกต่างกัน
ในทำนองเดียวกัน จากการศึกษาความเชื่อของมอร์มอน ผมพบว่ามีการใช้คำศัพท์คำเดียวกับคริสเตียนอยู่หลายคำ แต่มีความหมายที่แตกต่างกัน นอกจากคำว่า “การแปล” ผมได้กล่าวเอาไว้ในตอนที่ 1 ก็ยังมีอีกหลายคำ เช่น พระเจ้า, พระเยซู, ตรีเอกานุภาพ, ความรอด, ความเชื่อ, สวรรค์, การไถ่, บัพติสมา, ข่าวประเสริฐ และ อีกมากมาย ซึ่งหากเราไม่เข้าใจความหมายและมุมมองที่แตกต่างกัน ก็จะทำให้การสนทนาเป็นไปด้วยความยากลำบาก
*** แม้ว่าคำว่ามอร์มอนเป็นคำที่คุ้นเคยสำหรับคริสเตียนทั่วไป แต่ปัจจุบันทางองค์กรอยากให้สมาชิกเรียกตัวเองว่า Latter-Day Saints (LDS) มากกว่า
*** เพื่อความเข้าใจง่าย คำว่า “คริสเตียน” ในบทความจึงหมายถึงคริสเตียนกระแสหลักที่แตกต่างจากมอร์มอนนะครับ
(ต่อจาก ข้อที่ 2. ของบทความ ตอนที่ 1 )
𝟑. มุมมองต่อพระเจ้าพระบิดา 𝐕𝐢𝐞𝐰𝐬 𝐨𝐟 𝐆𝐨𝐝 𝐭𝐡𝐞 𝐅𝐚𝐭𝐡𝐞𝐫
แม้ว่าทาง LDS จะใช้คำว่า God the Father เหมือนของคริสเตียน แต่มีมุมมองที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก ดังต่อไปนี้
𝟑.𝟏 พระบิดากลายมาเป็นพระเจ้า 𝐇𝐞 𝐛𝐞𝐜𝐚𝐦𝐞 𝐆𝐨𝐝.
คริสเตียนทั่วไปเชื่อว่า ความเป็นพระเจ้ามีสภาพนิรันดร์ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดสิ้นสุด (Eternal) แต่มอร์มอนมีมุมมองว่าสภาพพระเจ้ามีจุดเริ่มต้น โดยก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ในระบบศาสนศาสตร์ของมอร์มอน มนุษย์ทุกคนถูกสร้างในสภาพ Premortal Life และอยู่ในส่วนที่เรียกว่า Realms of Deity ซึ่งเป็น First Estate หลังจากนั้นเราถูกส่งลงมาให้มีร่างกายในสภาพ Mortal Life และอาศัยอยู่บนโลก ซึ่งเป็น Second Estate เพื่อเป็นการทดสอบ และหากเราสอบผ่านและทำตามเงื่อนไขต่าง ๆ ครบถ้วน
ก็จะได้ไปอยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่า Celestial Kingdom และหลังจากนั้นเราจึงพัฒนาไปเรื่อย ๆ (Progression) จนกลายเป็นเหมือนพระเจ้าได้ (Exaltation) (ผมจะลงรายละเอียดเกี่ยวกับ Kingdom อีกครั้ง เมื่อพูดถึงระบบความรอดของมอร์มอน)
ดังนั้นสภาพพระเจ้าจึงเป็นสิ่งที่มีจุดเริ่มต้น ไม่ใช่สภาพนิรันดร์, แต่เป็นสภาพที่ได้รับมา ณ ช่วงเวลาหนึ่งนั่นเอง
แม้ว่าอาจจะมีมอร์มอนบางท่านแย้งว่าความเชื่อที่ “พระเจ้าเคยเป็นเหมือนมนุษย์” จะไม่ได้อยู่ในคัมภีร์ทั้ง 4 เล่ม แต่อย่างไรก็ตาม ความเชื่อนี้เป็นคำอธิบายที่ Joseph Smith พูดเอาไว้ในงานไว้อาลัยของ King Follet (King Follet Discourse) โดยเขากล่าวว่า
Joseph taught that God “was once a man like us; yea, that God himself, the Father of us all, dwelt on an earth, the same as Jesus Christ himself.”
(Discourse, 7 April 1844, as Reported by William Clayton)
และทางมอร์มอนให้การรับรองคำสอนนี้เรื่อยมา โดยยังไม่มีการยกเลิกแต่อย่างใด
Since 1844, the Church has continued to teach the core doctrines that Joseph presented in the King Follett discourse and to view the plan of salvation in light of the truths Joseph Smith taught about humankind’s premortal existence, mortal experience, and divine eternal potential.
𝟑.𝟐 ความเชื่อพระเจ้าหลายองค์ 𝐏𝐨𝐥𝐲𝐭𝐡𝐞𝐢𝐬𝐦
คริสเตียนทั่วไปเชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียว (one being) โดยมี 3 บุคคล (three persons) แต่มอร์มอนมีมุมมองว่า มนุษย์สามารถพัฒนากลายเป็นพระเจ้าได้ (Progression + Exaltation) จึงไม่ใช่แนวคิดของพระเจ้าหนึ่งเดียว (Monotheism) แต่เป็นแนวคิดของพระเจ้าหลายองค์ (Polytheism)
ซึ่งผมอยากจะแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยคุยกับมอร์มอน ดังนี้
อาณัติ – “How many Gods do you worship?”
มอร์มอน – “One”
เนื่องจากผมพอเข้าในหลักศาสนศาสตร์ของมอร์มอนอยู่บ้าง ก็จึงลองเปลี่ยนคำ และถามไปใหม่ว่า
อาณัติ – “How many Gods do they exist?
มอร์มอน – “Many”
นี่คือตัวอย่างในการสนทนา ที่เราต้องเลือกคำสนทนาที่มี “ความหมายชัดเจน” เพราะว่า มอร์มอนย่อมนมัสการเฉพาะพระเจ้าที่สร้างเขามาเท่านั้น แม้ว่าเขาจะเชื่อว่าอาจจะมีพระเจ้าอื่น ๆ ที่ได้รับ Exaltation ซึ่งกำลังสร้างหรือปกครองดวงดาวหรือจักรวาลอื่นอยู่ก็ได้
𝟑.𝟑 ผู้จัดระเบียบ ไม่ใช่ผู้สร้าง 𝐓𝐡𝐞 𝐎𝐫𝐠𝐚𝐧𝐢𝐳𝐞𝐫, 𝐧𝐨𝐭 𝐭𝐡𝐞 𝐂𝐫𝐞𝐚𝐭𝐨𝐫
คริสเตียนทั่วไปเชื่อว่า พระเจ้าสร้างทุกอย่างจากความว่างเปล่า (Ex Nihilo) แต่มอร์มอนมีมุมมองว่า สสารมีสภาพนิรันดร์ (DC. 93:33) ดังนั้นคำว่า “สร้าง” ในความหมายของมอร์มอนจึงหมายถึง “จัดระเบียบ” กล่าวคือ พระเจ้าจัดระเบียบสสารที่มีอยู่แล้วให้กลายเป็นโลก ซึ่งความเชื่อนี้ถูกรับรองในการประชุมของ the First President และ Quorum of the Twelve Apostles ในปี 1916 ว่า
The scriptures plainly and repeatedly affirm that God is the Creator of the earth and the heavens and all things that in them are. In the sense so expressed, the Creator is an Organizer. God created the earth as an organized sphere; but He certainly did not create, in the sense of bringing into primal existence, the ultimate elements of the materials of which the earth consists, for “the elements are eternal.”
(Improvement Era, Aug. 1916, 934–42)
และสอดคล้องกับ ข้อความใน the Pearl of Great Price
And then the Lord said: Let us go down. And they went down at the beginning, and they, that is the Gods, organized and formed the heavens and the earth. (Book of Abraham 4:1)
𝟑.𝟒 มีร่างกายและกระดูก 𝐇𝐞 𝐡𝐚𝐬 𝐚 𝐛𝐨𝐝𝐲 𝐨𝐟 𝐟𝐥𝐞𝐬𝐡 𝐚𝐧𝐝 𝐛𝐨𝐧𝐞𝐬
คริสเตียนทั่วไปเชื่อว่า God the Father เป็นวิญญาณ แต่มอร์มอนมีมุมมองว่า God the Father มีร่างกายและมีกระดูกที่จับต้องได้เหมือนมนุษย์
The Father has a body of flesh and bones as tangible as man’s; the Son also; but the Holy Ghost has not a body of flesh and bones, but is a personage of Spirit. Were it not so, the Holy Ghost could not dwell in us. (DC 130:22)
คริสเตียนทั่วไปเชื่อว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์ตามอย่างพระฉายของพระเจ้า (image of God) แต่มอร์มอนมีมุมมองว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์ตามอย่างพระฉายของร่างกายของพระเจ้า (image of his own body)
… In the day that God created man, in the likeness of God made he him; In the image of his own body, male and female,… (Book of Moses 6:8-9)
และเนื่องจาก God the Father มีร่างกาย จึงต้องการที่อยู่ (all matter needs space) จึงทำให้พระเจ้าของมอร์มอนไม่สามารถอยู่ทุกที่พร้อมกันได้ (not omnipresent) และเมื่อกลับไปอ่านใน DC.130:22 ก็จะพบว่า พระเจ้าของมอร์มอนไม่สามารถอยู่ในมนุษย์ได้ด้วย
*** โดยส่วนตัว ผมมองว่า omnipresence เป็นเงื่อนไขจำเป็น (necessary condition) ของ การรู้ทุกอย่าง (omniscience) ดังนั้นการที่พระเจ้ามีร่างกาย ย่อมส่งผลด้าน omniscience ไปด้วย และ หากไม่รู้ทุกอย่าง ก็ส่งผลต่อความชอบธรรมในการพิพากษาอีกด้วย
𝟑.𝟓 มีภรรยา 𝐇𝐞 𝐡𝐚𝐬 𝐚 𝐰𝐢𝐟𝐞, 𝐭𝐡𝐞 𝐇𝐞𝐚𝐯𝐞𝐧𝐥𝐲 𝐌𝐨𝐭𝐡𝐞𝐫
คริสเตียนทั่วไปเชื่อว่าพระเจ้าไม่มีเพศ และไม่มีภรรยา, แต่มอร์มอนมีมุมมองว่า God the Father มีร่างกาย และสร้างมนุษย์ตามอย่างพระฉายของร่างกาย ซึ่งมนุษย์เพศชายจะได้รับพระฉายจาก God the Father และมนุษย์เพศหญิงจะได้รับพระฉายจาก the Heavenly Mother นั่นเอง และถูกเรียกรวมกันว่า our heavenly parents
แม้ว่ามอร์มอนจะไม่นมัสการ the Heavenly Mother แต่ก็ให้ความเคารพในฐานะ divine parent
Susa Young Gates, a prominent leader in the Church, wrote in 1920 that Joseph Smith’s visions and teachings revealed the truth that “the divine Mother, [is] side by side with the divine Father.”
(The Vision Beautiful, Improvement Era 23, no. 6 (Apr. 1920): 542)
นอกจาก 5 ประเด็นข้างต้น ยังมีประเด็นย่อย ๆ อีกบางประเด็น เช่น การเรียกชื่อ God the Father เป็น Elohim และเรียกพระเยซูว่าเป็น Jehovah (not vice versa) ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้น โดยความเห็นส่วนตัวผมจึงมองว่า ส่วนผสมของผัดไทยจานนี้มีความแตกต่างจากผัดไทยที่ผมเข้าใจมากเกินกว่าที่จะยอมรับว่าเป็นผัดไทยได้
บทความโดย : ดร.อาณัติ เป้าทอง
Graphics by : Rainnie Design
หากใครที่ยังไม่ได้อ่านบทความตอนที่ 1 สามารถอ่านได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้
บทสนทนา
ไม่มีความคิดเห็น